วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา

พระสารีบุตร
ประวัติ

มีนามว่า อุปติสสะ เป็นบุตรพราหมณ์ในเมืองนาลันทา กรุงราชคฤห์ มีคุณสมบัติพิเศษ คือ เป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม เล่าเรียนได้อย่างรวดเร็วได้เข้าศึกษาปรัชญาอยู่ในสำนักสัญชัยเวลัฏฐบุตร ได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิเถระจนได้ดวงตาเห็นธรรม จึงขอบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ได้นามว่า “สารีบุตร” และได้รับการแต่งตั้งจากพระพุทธเจ้าให้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา

พระโมคคัลลานะ
ประวัติ

มีนามเดิมว่า โกลิตะเป็นบุตรพราหมณ์หัวหน้าหมู่บ้านโกลิตคาม ได้เข้าศึกษาปรัชญาอยู่ในสำนักสัญชัยเวลัฏฐบุตรได้ฟังธรรมจาก
พระอัสสชิเถระจนได้ดวงตาเห็นธรรม จึงขอบวชเป็นสาวก
ของพระพุทธเจ้า มีนามว่า “โมคคัลลานะ” หลังบรรลุพระอรหัตตผล มีคุณสมบัติพิเศษ คือ เป็นผู้มีฤทธิ์มาก สามารถใช้อิทธิ
ปาฏิหาริย์ชักจูงคนให้คลายจากความเห็นผิดได้รับการแต่งตั้งจาก
พระพุทธเจ้าให้เป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย อ่านเพิ่มเติม



หน้าที่ชาวพุทธ และมารยาทชาวพุทธ

ชาวพุทธ มีหน้าที่มากมายหลายประการที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ ปฏิบัติ เพื่อที่จะรำลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และเพื่อทำนุบำรุงอุปถัมภ์ สืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองตลอดไป
          1.1 หน้าที่และบทบาทของพระภิกษุสามเณร
          พระนักเทศน์ ได้แก่ พระภิกษุที่ปฏิบัติหน้าที่สอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป โดยการแสดงธรรม (เทศน์) และจะต้องผ่านการฝึกอบรมเป็นพระนักเทศน์ตามหลักสูตรของมหาเถรสมาคมแต่งตั้ง มี ประเภท คือ
1. พระนักเทศน์แม่แบบ หมายถึง พระนักเทศน์ที่ผ่านการอบรมจากคณะกรรมการฝึกอบรมพระนักเทศน์ที่มหาเถรสมาคมแต่งตั้ง เพื่อไปจัดอบรมพระนักเทศน์ประจำจังหวัด อ่านเพิ่มเติม

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา

ความหมายของศาสนา
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้คำนิยามของคำว่า ศาสนา ไว้ว่า “ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ “ศาสนาจึงมีความหมายในลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Religion” คำในภษาละตินว่า “Religio” แปลว่า “สัมพันธ์” หรือ “ผูกพัน” ซึ่งหมายถึง “ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า” (Man and God) หรือ “ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทพเจ้า” (Man and Gods) ด้วยการมอบศรัทธษบูชาพระเจ้าหรือเทพเจ้าผู้มีอำนาจเหนือตน และความเคารพยำเกรงศรัทธาดังกล่าวประกอบด้ว อ่านเพิ่มเติม


ศาสนาในประเทศไทย

ศาสนิกชน[แก้]

จากสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2543[2] พ.ศ. 2551[3] พ.ศ. 2554[4] และ พ.ศ. 2557[5][6] โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าในประเทศไทยมีผู้นับถือศาสนา ดังนี้
ศาสนาพ.ศ. 2543พ.ศ. 2551พ.ศ. 2554พ.ศ. 2557
ศาสนาพุทธ57,157,751 (93.83%)93.9%94.6%94.6%
ศาสนาอิสลาม2,777,542 (4.56%)5.2%4.6%4.2%
ศาสนาคริสต์486,840 (0.8%)0.7%0.7%1.1%
ศาสนาฮินดู52,631 (0.086%)0.2%0.1%0.1%
ลัทธิขงจื๊อ6,925 (0.011%)
ศาสนาอื่น ๆ48,156 (0.079%)
อศาสนา164,396 (0.27%)
ไม่ทราบศาสนา222,200 (0.36%)ไม่มีข้อมูลไม่มีข้อมูลไม่มีข้อมูล
ร้อยละของประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไป จำแนกตามศาสนา และภาค พ.ศ. 2557[7][8]
ศาสนากรุงเทพมหานครภาคกลางภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคใต้ทั่วราชอาณาจักร
ศาสนาพุทธ95.3%97.2%96.6%99.4%75.3%94.6%
ศาสนาอิสลาม2.9%1.9%0.1%0.1%24.5%4.2%
ศาสนาคริสต์1.6%0.9%2.7%0.5%0.2%1.1%
ศาสนาอื่น ๆ0.2%-0.6%--0.1%

การบริหารจิตและการเจริญปัญญา

 การสวดมนต์แปลและ แผ่เมตตา
การไหว้พระสวดมนต์เป็นการแสดงความเคารพต่อพระรัตน ตรัยที่เราต้องปฏิบัติให้พร้อมทั้งทางกาย วาจา และใจ เพื่อให้เป็นการเสริมสร้างสติปัญญา ผู้ที่ปฏิบัติเป็นประจำจะเกิดสติสัมปชัญญะ มีจิตเป็นสมาธิ ประณีตและมีคุณธรรม ทำให้ความเห็นถูกต้องตามหลักของพระพุทธศาสนา
          ในขณะที่สวดมนต์ถือเป็นการ บริหารจิตและเจริญปัญญาเบื้องต้น จะทำให้มีสติและสัมปชัญญะรู้ตัวอยู่กับปัจจุบันเสมอ การไหว้พระสวดมนต์ โดยมากนิยมทำในตอนเช้าและก่อนนอน หรือทำก่อนที่เราจะฝึกสมาธิซึ่งจะช่วยให้ผู้ฝึกจิตสงบ มีสมาธิ และระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย
ประโยชน์ของการสวดมนต์แผ่เมตตา
1. เป็นสุขทั้งยามหลับยามตื่น
2. ขณะหลับอยู่ไม่ฝันร้าย
3. สีหน้าสดชื่นผ่องใส เป็นที่รักของผู้พบเห็น
4. จิตมั่นคง ใจเป็นสมาธิตั้งมั่นได้เร็ว
5.เทวดาย่อมรักษาคุ้มครอง อ่านเพิ่มเติม



หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

1.ขันธ์ หรือ เบญจขันธ์ คือ องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ที่ประกอบด้วยรูปและนาม

      รูป คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย ประกอบด้วยธาตุ 4 ได้แก่
    - ธาตุดิน(ส่วนของร่างกายที่เป็นของแข็ง เช่น เนื้อ กระดูก ผม)
    - ธาตุน้ำ (ส่วนที่เป็นของเหลวของร่างกาย) เช่น เลือด น้ำลาย น้ำเหลือง น้ำตา )
    - ธาตุลม (ส่วนที่เป็นลมของร่างกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้าออก ลมในกระเพาะอาหาร)
    - ธาตุไฟ ( ส่วนที่เป็นอุณหภูมิของร่างกาย ได้แก่ ความร้อนในร่างกายมนุษย์)

     นาม คือ ส่วนที่มองไม่เห็นหรือจิตใจ ได้แก่
    - เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดจากประสาทสัมผัส เช่น สุขเวทนา ทุกขเวทนาและอุเบกขาเวทนา ไม่ยินดียินร้าย
    - สัญญา คือ ความจำได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส เมื่อสัมผัสอีกครั้งก็สามารถบอกได้
    - สังขาร คือ สภาพที่ปรุ อ่านเพิ่มเติม

ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา

ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากลและข้อปฏิบัติที่ยึดถือทางสายกลางตามหลักพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล
 พระพุทธศาสนามีหลักการและทฤษฎีที่เป็นสากล คือ หลักอริยสัจ 4 หมายถึง หลักความจริงอันประเสริฐของชีวิตมี 4 ประการคือ
 1. ทุกข์ (ความไม่สบายกายและใจ) สอนว่า    ชีวิต และโลก นี้มีปัญหาอะไรบ้าง 
 2. สมุทัย (สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์) สอนว่า  “ ปัญหาต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุ  มิได้เกิดขึ้นมาลอย ๆ 
 3. นิโรธ (วิธีการดับทุกข์) สอนว่า   มนุษย์มีศักยภาพในตัวเอง ที่จะสามารถแก้ปัญหาได้เอง 
 4. มรรค (แนวทางการปฏิบัติให้ถึงการดับทุกข์) สอนว่า การแก้ปัญหาต้องใช้ปัญญา (ความรู้และความเพียรพยายาม)
อริยสัจ 4 เป็นหลักความจริงที่มีหลักการเป็นที่ยอมรับสอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นหลักสากลยอมรับทั่วไป
ข้อปฏิบัติที่ยึดถือทางสายกลางตามหลักพระพุทธศาสนา
          พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนที่เป็นสภาวะกลาง คือ การปฏิบัติที่ยึดทางสายกลางไม่ตึงหรือหย่อนต่อการปฏิบัติจนเกินไปเรียกว่า  มัชฌิมาปฏิปทา   ซึ่งมีความหมายว่า การปฏิบัติที่พอดีมีความสมเหตุสมผล ไม่ทำอะไ อ่านเพิ่มเติม